ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism)

4. ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)ทิศนา แขมมณี. (2554:หน้า96)
ทฤษฎีนี้มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ ผู้พัฒนาทฤษฎีนี้คือ ศาสตราจารย์  ซีมัวร์     เพเพอร์ท แนวความคิดของทฤษฎีนี้คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียนหากผู้เรียนได้มีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
-                    การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
ทฤษฎีนี้จะมีเอกลักษณ์ของตนในด้านการใช้สื่อ เทคโนโลยี วัสดุ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เหมาะสมในการเรียนรู้ และผลงานต่างๆด้วยตนเอง สำหรับผู้เรียนที่ยังไม่มีสื่อ เพเพอร์กล่าวว่าสื่อธรรมชาติและวัสดุทางศิลปะส่วนมากนำไปใช้ในการสร้างความรู้ได้ดีเช่นกัน เช่น กระดาษ ดินเหนียว ไม้  โลหะ พลาสติก สบู่และของเหลือใช้ต่างๆ และปัจจัยที่สำคัญในการเรียนรู้อีกอย่างหนึ่งคือ บรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดีซึ่งมีส่วนประกอบ 3 ประการคือ
1.เป็นบรรยากาศที่มีทางเลือกหลากหลาย คือ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกตามความสนใจเน้นการเป็นเอกตบุคคล
2. เป็นสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกันอันเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความรู้
3. เป็นบรรยากาศที่มีความเป็นมิตร เป็นกันเอง บรรยากาศที่ทำให้ผู้เรียนมีความรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย สบายใจ  และเอื้อให้ผู้เรียนได้เป็นไปอย่างมีความสุข และครูก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญในการคอยให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนและคอยอำนวยความสะดวกต่างๆให้กับผู้เรียน
 เอกสารอ้างอิง  ทิศนา แขมมณี. 2554. ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. หน้า96